ประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย เรื่องการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องบรรยากาศ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

               การเลือกจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ควรมีลักษณะที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีบทบาทมากมีส่วนร่วมในกิจกรรมโดยตรงและได้รับประโยชน์จาการเรียนการสอนมากที่สุดซึ่งได้รับอิทธิพลแนวคิดของจอห์น ดิวอี้ (John Dewey  ) ที่เสนอไว้ว่า นักเรียนควร “เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ” ( Learning by Doing  ) การเปิดโอกาสให้นักเรียนเป็นผู้คิดลงมือทำกิจกรรมการเรียนโดยตรงด้วยตัวเองและศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา สำรวจ ตรวจสอบและค้นคว้าด้วยวิธีต่างๆจนทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจละเกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมายจึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้ในสถานการณ์ใหม่ๆมาเผชิญหน้า

         การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จะช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มความสามารถ การให้นักเรียนทำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับ

ความสามารถของตนเองจะช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในด้านจิตใจมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นต่อการเรียน นอกจากนี้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ช่วยให้ครูมองเห็นจุดเด่นหรือปัญหาต่าง ๆของนักเรียนได้ชัดเจน จะช่วยให้ครูดำเนินการปรับปรุงแก้ไขปัญหานั้น ๆได้ทันท่วงที และชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นเครื่องมือวัดผลทางการเรียนหลังจากจบบทเรียนในแต่ละครั้งได้

               ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จึงเป็นสื่อที่ทำให้ผู้เรียนมีความชำนาญในการเรียนเรื่องนั้นๆ และก่อให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ถ้าชุดกิจกรรมการเรียนรู้ถูกสร้างตามขั้นตอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างครอบคลุมเนื้อหาของบทเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นก็จะเป็นสื่อการเรียนการสอนที่สามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างกว้างขวางสามารถกระตุ้นความสนใจของนักเรียนทำให้นักเรียนเกิดความอยากรู้เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดความคิดรวบยอดในเนื้อหาสาระของบทเรียนนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกันบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                ในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บรรยากาศ รายวิชาวิชาวิทยาศาสตร์ 2  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวิธีการดำเนินการให้บรรลุผล ดังนี้

                      2.1 ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา

                            2.2 ศึกษารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้

                            2.3 ออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บรรยากาศ โดยประกอบด้วยเนื้อหากิจกรรมการทดลอง  และโจทย์ปัญหา

ที่เกี่ยวข้องและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการในชีวิตประจำวัน

                         2.4 สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บรรยากาศ ลงสู่การจัดกิจกรรมในห้องเรียน 

                            2.5 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บรรยากาศ มีขั้นตอนดังนี้

                                  1)  ทดสอบความรู้ก่อนเรียน เรื่อง บรรยากาศ เพื่อให้ได้ข้อมูลส่วนของความรู้พื้นฐานของนักเรียนเป็นรายบุคคล

                                  2)  นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บรรยากาศ  ไปจัดการเรียนรู้ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

                                  3)  ทดสอบความรู้หลังเรียน เรื่อง บรรยากาศ

                            2.6 รายงานผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องบรรยากาศ รายวิชาวิทยาศาสตร์  2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

                3.1 เชิงปริมาณ

                     1)  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังได้รับ การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง บรรยากาศ สูงกว่าก่อนเรียน

                     2)  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม)

                       3)  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องบรรยากาศ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ในระดับมากขึ้นไป

                      3.2 เชิงคุณภาพ

                     1)  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น

                     2)  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สูงขึ้น

                     2)  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


05 PA1 แบบฯพัฒนางาน เกศกนก 1 ต.ค. 65 ใช้.pdf

การประชุมและการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้